Bangpakok Hospital

ไขมันช่องท้อง ลดให้ลงก่อนสายไป

28 ก.ย. 2566


   ใครที่มีหน้าท้องตึง ๆ หรือป่องออกมามาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม ต้องระวังไว้นะครับ เพราะอาการนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าคุณมีไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)อยู่เยอะไขมันช่องท้องตัวนี้มีความอันตรายเรียกได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วน และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ทำร้ายสุขภาพหากรู้ตัวแล้วว่าตัวเองน่าจะมีไขมันช่องท้องเยอะไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
ไขมันช่องท้อง VISCERAL FAT คือไขมันอะไร
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
   เป็นไขมันชนิดหนึ่งของร่างกาย ที่พอกตัวและแทรกซึมอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ (ไขมันพอกตับ), กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก เป็นต้น อีกทั้ง ตัวไขมันในช่องท้องนี้ ยังสามารถแทรกซึมเข้าไปอยู่ในหลอดเลือดแดงของเราได้ด้วยทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง (Subcutaneous Fat)
   ไขมันที่เกิดจากพลังงานส่วนเกินที่หลงเหลืออยู่จากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไปเยอะหากเราใช้ชีวิตด้วยพฤติกรรมที่ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญมากนักร่างกายก็จะไม่ได้ดึงไขมันในช่องท้องออกมาใช้ ดังนั้นนานวันเข้าไขมันในช่องท้องยิ่งเพิ่มขึ้น
ไขมันในช่องท้องอันตรายแค่ไหน?
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
   ชนิดไขมันที่ส่งผลกับสุขภาพของเราโดยตรงแตกต่างจากไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ที่ส่งผลต่อความสวยงามของรูปร่างเท่านั้นคนที่มีไขมันในช่องท้องเยอะ จะมีลักษณะเป็นหน้าท้องตึง ๆ แน่น ๆ โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักจะออกไปสังสรรค์เป็นประจำ (ดื่มแอลกอฮอล์เยอะ)
ความอันตรายของไขมันในช่องท้อง
   หลังจากที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องแล้ว เมื่อไขมันช่องท้องนี้สลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระ มันก็จะเข้าไปขัดขวางกระบวนการเผาผลาญกลูโคสในกล้ามเนื้อ เป็นเหตุให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในร่างกายก็พุ่งสูงขึ้น สุขภาพร่างกายก็จะแย่ลงและโรคที่อันตรายก็จะค่อยๆตามมา
โรคที่เกิดจากไขมันในช่องท้อง
   ไขมันตัวร้ายชนิดที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนทั้งหลายที่ตามมา
  • โรคอ้วน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • โรคความดันสูง
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคไขมันพอกตับ
  • โรคหลอดเลือดอุดตัน
  • โรคหลอดเลือดสมองตีบ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และรวมไปถึงการที่ประจำเดือนของเรามาผิดปกติด้วย
การตรวจวัดไขมันในช่องท้อง
การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference)
   การตรวจความเสี่ยงของไขมันในช่องท้องวิธีนี้ ทำได้โดยการใช้สายวัด วัดบริเวณรอบเอว ในตำแหน่งสะดือ และตอนที่หายใจออก ซึ่งการวัดเส้นรอบเอวนั้น จะต้องวัดแบบพอดีตัว ไม่รัดแน่นหรือหลวมเด็ดขาด ซึ่งขนาดเส้นรอบเอวของคนปกติทั่วไปคือ ผู้หญิงที่มีรอบเอวไม่เกิน 32นิ้ว และผู้ชายที่มีรอบเอวไม่เกิน36 นิ้ว หากเกินกว่านี้ แปลว่ามีความเสี่ยงสูง ที่จะมีไขมันช่องท้องอาศัยอยู่
การคำนวณ (Waist-to-Hip Ratio)
   การคำนวณ Waist-to-Hip Ratio คือการคำนวณอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับและแนะนำ การคำนวณ Waist-to-Hip Ratioเพื่อดูความเสี่ยงของไขมันในช่องท้อง มีวิธีการดังนี้
  • ใช้สายวัด วัดส่วนที่คอดที่สุดของช่วงเอว (ซม.)
  • จากนั้น ให้วัดบริเวณรอบสะโพกต่อ (ซม.)
  • นำตัวเลขที่ได้จากการวัดรอบเอว และรอบสะโพกมาหารกัน
  • เมื่อได้เลขทศนิยม 2 หลักแล้ว ให้ดูค่าความเสี่ยงตามนี้
  • ผู้หญิง ไม่ควรมีค่ามากกว่า 0.80
  • ผู้หญิง ไม่ควรมีค่ามากกว่า 0.95
การคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
   การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index)เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาวะของร่างกาย ว่ามีความเสี่ยงของโรคอ้วนมากน้อยเพียงใด (โรคอ้วนเกิดจากไขมันในช่องท้อง หากมีไขมันในช่องท้องมาก = มีความเสี่ยงมาก) เราจึงสามารถใช้วิธีนี้คำนวณสุขภาพร่างกายเราอย่างคร่าวๆได้ง่ายๆ เพียงเอาน้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 และดูค่าที่ได้ออกมา
ตัวอย่างเช่น : A น้ำหนัก 64 กิโลกรัม มีส่วนสูง 1.58 เมตร (158 เซ็นติเมตร)
นำ 64 ÷ 1.58 ÷ 1.58 = BMI25.6 (มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนสูง)
ตารางดัชนีมวลกาย BMI

 

 

 

 

 

BMI

ระดับความอ้วน

ภาวะเสี่ยงต่อโรค

น้ำหนักน้อย

<18.5

-

ต่ำ

น้ำหนักปกติ

18.6-22.9

-

เท่าคนปกติ

น้ำหนักเกิน

23.0-24.9

-

เสี่ยง

โรคอ้วน

25-29.9

1

เสี่ยงมาก

อ้วนเกิน

>30

2

อยู่ในช่วงอันตราย

การลดไขมันในช่องท้อง ทำอย่างไร?
   อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า ไขมันในช่องท้อง Visceral Fat คือไขมันที่อยู่ภายในช่องท้องของเรา และพอกตัวตามอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้น เราจึงไม่สามารถใช้วิธีการดูดไขมันหน้าท้องออกมาได้อย่างแน่นอน รวมไปถึงการฉีดสลายไขมันหน้าท้อง หรือการนวดสลายไขมันด้วยเช่นกัน เพราะวิธีเหล่านี้ ไม่สามารถลงลึกทะลุผ่านกล้ามเนื้อหน้าท้อง เข้าไปอยู่ภายในช่องท้องของเราได้
ต้องอาศัยระบบการเผาผลาญไขมันของร่างกายเท่านั้น แปลว่าเราก็ต้องมีวินัยกับตัวเองให้มากๆเพราะวิธีดังกล่าวคือการอออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร ที่เรารู้แก่ใจกันดีว่าช่วยลดไขมันได้การออกกำลังกาย จะต้องลงมือออกแรงทำอย่างสม่ำเสมอ แต่การควบคุมอาหารและปรับพฤติกรรมการกินนั้น สามารถทำได้โดยอาศัยวินัยของตัวเอง และการใช้ตัวยาเข้ามาช่วย
การออกกำลังกาย กระตุ้นการเผาผลาญ
   การกินแล้วนั่งเฉย ๆ หรือการกินแล้วนอน ไม่ค่อยได้มีการขยับร่างกายบ่อย ๆ ก็ทำให้เกิดไขมันในช่องท้องได้เนื่องจากร่างกาย ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินที่เรากินเข้าไป จึงเกิดการสะสมของไขมันหน้าท้องขึ้นถ้าอยากลดไขมันช่องท้องลง เพื่อให้เราห่างไกลโรคต่างๆ มากขึ้น เราควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 45 นาที
การควบคุมอาหาร / ปรับการกิน
   การลดไขมันช่องท้อง Visceral Fat คือ ต้องควบคุมอาหารครับ เพราะพฤติกรรมการกินอาหารของคนเราสำคัญมากถึง 70% เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายถ้าคุณมีความตั้งใจว่าอยากลดไขมันในช่องท้อง อยากให้หน้าท้องเล็กลง รอบเอวเล็กลง และอยากให้สุขภาพดีขึ้น การปรับพฤติกรรมการกินเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ควรกินเท่าที่ร่างกายต้องใช้จริงๆ เมื่อรู้สึกอิ่มให้หยุดต้องเลือกกินอาหารที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงอาหารที่ยิ่งทำให้เกิดการสะสมของไขมันในช่องท้อง ดังนี้
อาหารที่ควรรับประทาน
  • อาหารที่มีโปรตีนสูง
  • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • อาหารที่มีไขมันต่ำๆ
  • การดื่มน้ำเปล่ามากๆ
  • อาหารรสเผ็ด, เปรี้ยว และขม
อาหารที่ไม่ควรรับประทาน
  • อาหารที่มีไขมันสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีน้ำตาลเยอะ
  • อาหารทอด, หวาน และมัน
   ได้รู้จักกับไขมันช่องท้องมากขึ้นกว่าเดิมกันแล้ว นอกจากนี้ยังพอจะรู้วิธีเช็คไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) แบบคร่าวๆว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต่างๆแต่ถ้าใครที่มีความเสี่ยงหรือแนวโน้มนี้ ลองปรับพฤติกรรมการกินตามวิธีที่แพทย์ได้แนะนำ
 
สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจ โทร. 02 109 1111
โรงพยาบาลบางปะกอก 1
Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.