Bangpakok Hospital

ปวดท้องน้อย อาการเตือนโรคทางนรีเวช

6 ก.ย. 2566

       ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) คืออาการปวดท้องด้านล่างตั้งแต่บริเวณใต้สะดือจนถึงหัวหน่าว จากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารหรือปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ ที่มีความเกี่ยวข้องการมีประจำเดือน เพศสัมพันธ์จึงเป็นอาการเตือนของโรคนรีเวช และโรคต่างๆ

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute Pelvic Pain)
  • ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ (Recurrent Pelvic Pain)
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain)

ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานๆ จะสามารถส่งผลกระทบทางจิตใจ และกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย

ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute Pelvic Pain)เกิดจากอวัยวะในช่องท้องขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งมีสาเหตุดังนี้

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • นิ่วในท่อไต
  • ความเสียหายของถุงน้ำรังไข่
  • มดลูกอักเสบ

ปวดท้องน้อยแบบเป็นซ้ำ (Recurrent Pelvic Pain)

  • การหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)ออกมาจากถุงไข่ที่มีความผิดปกติ ในช่วงของการตกไข่
  • การปวดประจำเดือนในช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือน

ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain)

  • อาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน

อาการปวดท้องน้อย

สามารถเกิดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยการรับประทานยา นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมอื่นๆ อีกได้แก่

  • ปวดเกร็งในขณะมีประจำเดือน
  • มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด เช่น เลือด และการตกขาว
  • ปวด เจ็บ ขณะปัสสาวะ รวมทั้งลักษณะสีของปัสสาวะมีความผิดปกติ เช่น ขุ่น มีฟอง หรือมีเลือดไหลปนออกมา
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เป็นไข้
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • การขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก มีเลือดไหลปนออกมากับอุจจาระ

การวินิจฉัยอาการปวดท้องน้อย

ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ และระยะเวลาในการเกิดอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจภายในร่างกาย ได้แก่

  • ตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อหาการเกิดมะเร็งรังไข่
  • ตรวจตัวอย่างสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อหาความผิดปกติในช่องท้อง และบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่

  • การอัลตราซาวด์
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การส่องกล้องภายในมดลูกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
  • การผ่าตัดหน้าท้องแล้วทำการส่องกล้อง (Laparoscopy)

ปวดท้องน้อย เป็นโรคอะไรบ้าง

โรคในระบบสืบพันธุ์

  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • การติดเชื้ออักเสบในอุ้งเชิงกราน (PID, Metritis)
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Adhesion)
  • ก้อนเนื้องอกที่ปีกมดลูก (Adnexal Mass)
  • เนื้องอกมดลูก (Leiomyoma)

โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)
  • กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
  • นิ่วในไต (Kidney Stones)

โรคในระบบทางเดินอาหาร

  • อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
  • ลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Syndrome)
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer)

การรักษาอาการปวดท้องน้อย

การใช้ยา

  • ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน
  • ยาต้านไวรัส สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส จากเพศสัมพันธ์
  • ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้ง อวัยวะในอุ้งเชิงกรานอักเสบ เช่น ออฟลอกซาซิน (Ofloxacin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) และด็อกซี่ไซคลีน (Doxycycline)

การผ่าตัด

  • การผ่าตัดส่องกล้อง ที่มีแผลขนาดเล็ก
  • การผ่าตัดหน้าท้องแบบเปิด

การป้องกันการปวดท้องน้อย

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก และผลไม้ ส่วนอาหารที่มีไขมันสูง รสหวาน หรือเค็มจัด ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมทั้งการได้รับควันบุหรี่
  • ออกกำลังกาย ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด

ป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์

  • ใช้ถุงยางอนามัยที่ได้มาตรฐาน
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • ควรใช้สารหล่อลื่น

อาการปวดท้องน้อยไม่ได้มีแค่ผู้ป่วยเพศหญิงเพียงเท่านั้น เพศชายก็สามารถมีอาการปวดได้ ซึ่งสาเหตุก็มักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ไม่ใช่แค่โรค หรือภาวะจากระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร หรือปัสสาวะ ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้องน้อย แต่ภาวะทางจิตใจที่ผิดปกติก็สามารถทำให้มีอาการได้ เช่น ผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมทั้งผู้ที่ใช้สารเสพติด

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.