Bangpakok Hospital

ปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการฝังเข็ม

26 พ.ค. 2566

         ปัจจุบันศาสตร์แพทย์แผนจีนมีการเรียนการสอนในประเทศไทยโดยหลักสูตรการเรียนการสอนได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขแพทย์ผู้ทำการรักษาจะมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเหมือนแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งการที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาโดยวิธีฝังเข็มนั้นจะต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ก่อนว่าสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่

 อาการแบบไหนบ้างที่รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองให้การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคแขนงหนึ่งและยังมีหลายงานวิจัยพบว่าการฝังเข็มให้ผลการรักษาโดดเด่นกับกลุ่มอาการและโรคหลายๆโรคเช่นกลุ่มอาการปวดต่างๆโรคทางระบบทางเดินอาหารโรคทางสูตินารีเวชเป็นต้นการรักษาด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่าหรือมากกว่าการใช้ยาโดยปลอดภัยและไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย

 กลุ่มอาการแบบไหนรักษาด้วยการฝังเข็มได้ผลดี

  • กลุ่มอาการปวดเช่นปวดคอบ่าไหล่ปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากการออกกำลังกาย
  • หมอนรองกระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • ปวดศีรษะปวดไมเกรนเวียนศีรษะ
  • โรคระบบทางเดินอาหารโรคกระเพาะอักเสบกรดไหลย้อน
  • โรคทางสูตินรีเวชปวดประจำเดือนประจำเดือนผิดปกติภาวะมีบุตรยาก
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดความดันโลหิตสูงเบาหวาน
  • โรคทางระบบประสาทอัมพฤกษ์อัมพาตอัมพาตใบหน้า
  • นอนไม่หลับเครียดวิตกกังวลซึมเศร้า
  • ปรับสมดุลร่างกายเพิ่มภูมิต้านทาน
  • ฝังเข็มเสริมความงามกระชับลดสิวฝ้ากระริ้วรอยหรือลดความอ้วน

 การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนบริเวณต่างๆทั่วร่างกายมีพลังงานไม่เท่ากัน (ภาษาจีนเรียกพลังงานไหลเวียนนี้ว่า ‘ชี่’) การฝังเข็มจะเป็นการใช้เข็มฝังบริเวณที่เป็นเส้นลมปรานของร่างกายเป็นการช่วยกระตุ้นลมปราณ (ชี่) และเลือดให้ไหลเวียนได้ดีขึ้นช่วยระบายเลือดที่คั่งเนื่องจากการไหลเวียนไม่ดีระบายความร้อนหรือสารพิษเป็นการบำรุงซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายที่เสียสมดุลไปให้กลับเข้าสู่สมดุล

 ต้องรักษาด้วยการฝังเข็มกี่ครั้งและบ่อยแค่ไหน

การรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และพื้นฐานร่างกายของผู้ป่วยเองโดยทั่วไปฝังเข็มสัปดาห์ละ2-3 ครั้งต่อเนื่อง3 สัปดาห์หรือทั้งหมด10 ครั้งภายใน1 เดือนตามแต่ความรุนแรงของอาการบางครั้งจะต้องมีการรักษาอื่นๆร่วมด้วยเช่นสมุนไพรจีนการครอบแก้วหรือการนวดกดจุดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อยลง

 ใครบ้างไม่ควรรับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม

  • เป็นโรคติดเชื้อต่างๆหรือโรคผิวหนัง
  • เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รักษา
  • เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการฝังเข็ม

  • รับประทานอาหารก่อนเข้ารับการรักษา1-2ชั่วโมงเพื่อป้องกันการเป็นลมสำหรับคนที่มีอาการกลัวเข็ม
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบายไม่บีบรัดเพื่อให้เลือดลมเดินสะดวกช่วงที่มีการฝังเข็ม
  • สำหรับผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า

 สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจได้ที่ BPK Wellness

 โทร. 0-2109-2222

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.