Bangpakok Hospital

ลูกกินโซเดียมเยอะ เสี่ยงเกิดโรคหัวใจ

24 พ.ค. 2566


ไม่ใช่แค่ของหวานหรืออาหารไขมันสูง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การกิน เกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
ก็เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไปจนอาจทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว

เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

เด็กบริโภค เกลือ หรือ โซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงตั้งแต่เด็ก สามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า 800,000 คนในแต่ละปี และการกินอาหารที่มีรสเค็ม การบริโภค เกลือ หรืออาหารโซเดียมสูง อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เด็กกินเค็ม (โซเดียม) เท่าไหร่ถึงจะพอดี

เด็กควรบริโภคเกลือแต่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มักจะเพิ่มเกลือลงไป เช่น ขนมปัง ถั่วอบ หรือ แม้แต่ขนมปังอบกรอบ จึงทำให้เด็กๆ กินเค็มมากเกินไป ปริมาณ เกลือ ที่สูงที่สุดที่เด็กควรได้รับต่อวัน ได้แก่

  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับ เกลือ น้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 4 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคเกลือ 2 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 8 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-6 ปี ควรบริโภคเกลือ 3 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 7-10 ปี ควรบริโภคเกลือ 5 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 11 ปีขึ้นไป ควรบริโภคเกลือ 6 กรัมต่อวัน และโซเดียมน้อยกว่า 4 กรัมต่อวัน

 

สัญญาณที่บอกว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไป

  • อยากกินอาหารที่มีรสเค็ม
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
  • น้ำหนักขึ้นทั้งที่ไม่ได้กินของหวานหรือของมัน

 

ความอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นนอกจากการควบคุมน้ำตาลและไขมันแล้ว ผู้ปกครองควรระวังอาหารที่มีรสเค็มมีโซเดียมสูงด้วย เช่น อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้เด็กๆ ได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.