Bangpakok Hospital

ไข้มาลาเรีย อันตรายจากยุง

24 เม.ย. 2566

ทำความรู้จักมาลาเรีย

โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อโปรโตซัวพลาสเดียม ซึ่งมี 5 ชนิด และเป็นเชื้อที่อาศัยในเลือด โรคไข้มาลาเรียมีความชุกชุมตามบริเวณที่เป็นป่าเขาและมีแหล่งน้ำ ในปัจจุบันถือเป็นโรคประจำถิ่นที่ยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน โรคมาลาเรียมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ดง ไข้ร้อนเย็น เป็นต้น

การติดต่อของโรคมาลาเรีย

ติดต่อโดยยุงก้นปล่องตัวเมียเป็นพาหะนำเชื้อมาลาเรียจากผู้ป่วยอีกคนไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยเริ่มจากยุงก้นปล่องกัดผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรีย และดูดเลือดที่มีเชื้อมาลาเรียเข้าไป หลังจากนั้นเชื้อมาลาเรียใช้เวลาในการเจริญเติบโตอยู่ในตัวยุงประมาณ 10-12 วัน จนอยู่ในระยะที่ทำให้เกิดโรคได้

อาการของโรคไข้มาลาเรีย

โดยทั่วไปมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ แต่ไม่มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้อาจเป็นอยู่ในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับการฟักตัวของเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิด หากอาการรุนแรงจะมีอาการซีดตาเหลืองตัวเหลือง จุดเลือดออกหรือเลือดออกผิดปกติ สับสน ซึมและช็อคได้

การรักษา

เชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา จึงต้องอาศัยการตรวจหาเชื้อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูป และเนื่องจากเชื้อมาลาเรียบางชนิด เมื่อป่วยแล้วไม่ไปรับการรักษาทันทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

  • กางมุ้งนอนพร้อมปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด
  • ทายากันยุงบริเวณผิวหนังภายนอก หรือจุดยากันยุง
  • สวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมมิดชิด
  • หากต้องค้างคืนในไร่นาหรือป่าเขา ให้ใช้มุ้งชุบน้ำยา
  • กำจัดแหล่งลูกน้ำ เช่น บริเวณน้ำกักขัง เป็นต้น
Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.