Bangpakok Hospital

อากาศร้อน เสี่ยงเป็นลมแดด

29 มี.ค. 2566

     โรคที่เกิดจากความร้อนนั้นมีหลายระดับ ซึ่งโรคลมแดดเป็นภาวะฉุกเฉินที่รุนแรงที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่รวดเร็วเพียงพอ อาจส่งผลให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยในหนึ่งปีมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ยกว่า 800 รายถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีฤดูร้อนทั้งปี แต่ดูเหมือนว่าเดือนเมษายนและพฤษภาคมจะมีอากาศร้อนแบบสุดๆอากาศร้อนเกินไปยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอีกหลายโรค รวมทั้งภาวะฉุกเฉินอย่าง “โรคลมแดด”  หรือ

Heat Stroke หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

โรคลมแดด

เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของร่างกาย เช่น ซึม สับสน บางครั้งอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้โดยลมแดด เกิดจากร่างกายได้รับความร้อน และไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกาย หรือปรับตัวได้ทัน

ภาวะโรคลมแดด สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ

  1. โรคลมแดดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke)

อากาศร้อนอยู่แล้ว ยิ่งถ้าไปออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือสถานที่ระบายความร้อนได้ไม่ดี ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคลมแดดสูงขึ้น

  1. โรคลมแดดทั่วไป (Non-exertional Heat Stroke)

ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ หรืออยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้

โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะมีการสร้างความร้อนอยู่ภายในแล้วก็ค่อยๆสลายความร้อนออกไป คือถ้าอุณหภูมิข้างนอกสูงขึ้น หรือ อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้น ร่างกายเราจะขับความร้อนออกมาด้วยวิธีการดังนี้

  1. การแผ่ความร้อน คือการแผ่ออกไปในอากาศรอบๆ
  2. การนำความร้อน คือการที่มีวัตถุมาสัมผัส เช่นการเอาผ้าชุบน้ำมาโปะไว้ที่หน้าผาก
  3. การพาความร้อน เช่น การอาบน้ำ

ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากความร้อน

  1. มีภาวะบวมจากความร้อน ในส่วนของเท้ากับข้อเท้า แต่ถ้าเราลดอุณหภูมิและหลีกเลี่ยงความร้อนได้ อาการเหล่านี้ก็จะยุบลง หรือบางทีจะหายไปเอง
  2. เป็นผื่นที่เกิดจากความร้อน หรือผื่นแดด มีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน มีตุ่มแดงๆขึ้นตามร่างกาย ในลักษณะคล้ายการเป็นผด ซึ่งแก้ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่บางเบาเพื่อคลายความร้อน
  3. ตะคริวแดด คือเมื่อความร้อนสูงขึ้นก็จะเกิดการเป็นตะคริว โดยเฉพาะบริเวณน่อง ซึ่งปกติจะเจอในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย แต่คนไข้ที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียเกลือแร่ ซึ่งแก้ด้วยการทานน้ำเกลือแร่ชดเชยในกรณีที่อาการไม่เยอะ แต่ถ้าอาการหนักขึ้น ควรพบแพทย์
  4. เพลียแดด จะเริ่มมีอาการเยอะขึ้น มีการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว ท้องเสีย อาจมีการหน้ามืด ใจสั่น ความดันโลหิตสูง แก้ได้โดยทานน้ำเกลือแร่
  5. ลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เช่น ซึม สับสน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นชักและหมดสติได้

ขอบคุณข้อมูล : สสส.

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.