“โรคนิ้วล็อค” 1 ในโรคฮิต ออฟฟิศซินโดรม
“โรคนิ้วล็อค” เป็นโรคที่คนในยุคปัจจุบันมีความเสียงที่จะเป็นสูงมาก ผู้ป่วยมักมีอาการนิ้วมือ และนิ้วมือล็อค ไม่สามารถเหยียดตรงได้ง่าย เนื่องจากการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อนิ้ว เป็นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมาจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนัก เช่น
- ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบสัมผัส ถึงแม้ว่าการการสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือทุกนิ้ว แต่อาการเกร็งจะเกิดขึ้นกับนิ้วที่ใช้ เช่น นิ้วชี้ นิ้วโป้ง จนทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว และมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว
- แม่บ้านผู้ใช้งานมืออย่างหนัก ในการหิ้วของหนัก ซักผ้า หรือการทำงานบ้านอื่นๆ ทำให้นิ้วมือต้องเกร็งอย่างหนัก
- ผู้ชายที่ทำอาชีพที่ต้องใช้กำลังจากนิ้วมือ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสาว พนักงานโรงงาน ช่างซ่อมที่ต้องใช้ไขควง ช่าง นักกีฬากอล์ฟ นักกีฬายูโด
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื้อที่มือ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน รวมไปถึืงโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อคได้เช่นกัน
ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีกลุ่มเสี่ยงชัดเจน แต่ผู้ป่วยที่พบมากจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีอายุประมาณ 40-60 ปี
4 ระยะของอาการ “โรคนิ้วล็อค”
คนส่วนใหญ่มักมีอาการที่นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง สาเหตุมาจากผังผืดยืดหุ้มบริเวณข้อนิ้ว เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดมาก นิ้วมือไม่สามารถงอได้ ทำให้หยิบจับอะไรไม่ถนัด และจะมีอาการปวดตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มีอาการปวด โดยเริ่มปวดบริเวณโคนนิ้วและมีปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมือลองกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่จะยังไม่มีอาการสะดุด
ระยะที่ 2 มีอาการสะดุด เมื่อขยับนิ้ว งอ หรือเหยียดตรง จะมีอาการสะดุดจนรู้สึกได้ รวมไปถึงอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น
ระยะที่ 3 มีอาการล็อค นิ้วมือล็อคไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างแกะออก
ระยะที่ 4 มีอาการบวมอักเสบ นิ้วมือบวมอยู่ในท่างอที่ไม่สามารถเหยียดตรงได้ และมีอาการปวดมากเมื่อพยายามใช้มืออีกข้างช่วยในการเหยียดตรง
เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา อย่าปล่อยให้นิ้วมือของคุณมีอาการถึงระยะที่ 4
“โรคนิ้วล็อค” รักษาได้
ผู้ป่วย “โรคนิ้วล็อค” บางรายอาจสามารถมีอาการที่ดึขึ้นได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากปล่อยให้อาการรุนแรง จะได้รับการรักษาจากแพทย์หลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น
1. รักษาด้วยการบำบัด
- พักผ่อน พักมือจากการออกแรง หรือแบกน้ำหนักมาก ซ้ำกันเป็นเวลานาน โดยเว้นกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์
- ประคบร้อนหรือเย็น การได้แช่น้ำอุ่นในช่วงเช้าจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือประคบเย็นที่ฝ่ามือก็ช่วยได้เช่นกัน
- อุปกรณ์ดามนิ้ว อุปกรณ์จะช่วยพยุงนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดจนเกินไป และช่วยให้นิ้วได้พักอีกด้วย
- ยืดเส้น การออกกำลังกายเบาๆ อาจช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้ปกติขึ้น
2. รักษาด้วยยา ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาชนิดนี้ไม่สามารถบรรเทาอาการบวมได้
3. กระบวนการทางการแพทย์อื่นๆ เมื่อการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล อาจจะต้องรับการรักษาดังนี้
- ฉีดสเตียรอยด์ โดยฉีดเข้าเส้นเอ็นบริเวณนิ้ว
- ผ่าตัด โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันอาการก็ดีขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดพังผืดและกลับมาเป็นอีกได้
ปฏิบัติอย่างไร ห่างไกล “โรคนิ้วล็อค”
1. หลีกเลี่ยงการหิ้ว หรือยกของหนัก เพื่อถนอมนิ้วมือ
2. พักมือ เมื่อใช้งานโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสเป็นเวลานาน ควรพักเป็นระยะ เช่นใช้งาน 45 นาที และพัก 10 นาที
3. ควรใช้เครื่องทุนแรง หากจำเป็นต้องทำงานที่ใช้มือ กำ หยิบ บีบ หรือยก
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-109-1111 ต่อ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลบาลปะกอก 1