Bangpakok Hospital

“โรคไข้เลือดออก”

29 พ.ค. 2560


  ช่วงนี้ ฝนตกเกือบทุกวันเลย ยุงก็ชุกชุมเหลือเกิน รู้หรือไม่ว่า ยุงเยอะๆแบบนี้ มีความเสี่ยงสูงกับการเกิด “โรคไข้เลือดออก”
  
  

   สาเหตุของ “โรคไข้เลือดออก”
โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะ นาโรคโดยเฉพาะยุงลายตัวเมียที่กัดและดูดเลือดในเวลากลางวัน เมื่อกัดคนที่เป็นโรคนี ้
เชือ้ โรคจะเข้าไปฟักตัวอยู่ในยุง และสามารถถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ที่ถูกกัดได้ทุกครั้ง
 อาการของ “โรคไข้เลือดออก” ที่ควรระวัง !
  ผู้ป่วยที่ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด มีอาการดังนี้ อาการไข้สูง ใบหน้าและลาตัว รวมถึงมือและเท้าจะแดง อาเจียน ปวดท้อง อาการไข้สูงจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน หลังจากนั้นคนไข้อาจจะมีอาการช็อก เพราะส่วนใหญ่เมื่อไข้ลดผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายดีแล้ว แต่กลับพบอาการที่แย่ลง คือ ซึม กระสับกระส่าย มือเท้า และตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วและเบา มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ซึ่งมักพบที่แขน รักแร้ และตามตัว
อาการไข้เลือดออกที่รุนแรง คือ เลือดออกในกระเพาะอาหาร และลาไส้ โดยคนไข้จะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือก้อนเลือด
หรืออาจจะถ่ายอุจจาระสีดาเหมือนถ่าน หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์


 
  วิธีป้องกัน “โรคไข้เลือดออก”
   ณ ตอนนี้ “โรคไข้เลือดออก” ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่เราสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้
1. ระวัง ! อย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะช่วงกลางวัน
2. ควรมีอุปกรณ์ป้องกันยุง เช่น มุ้ง มุ้งลวด หรือยากันยุง
3. ทาลายแหล่งที่เป็นพาหะของโรค โดยเฉพาะ แหล่งน้าขังในบริเวณบ้าน เช่น โอ่ง ถ้วยรองขาตู้ แจกัน ยางรถยนต์เก่า
4. หากรู้ตัวว่าเป็น”ไข้เลือดออก”หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดใน 5 วันแรก เนื่องจากเป็นระยะที่ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด สามารถแพร่เชื้อผ่านยุงได้
5. เมื่อพบผู้ป่วย”ไข้เลือดออก”ในบ้าน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่เทศบาลเพื่อเข้ามาฉีดพ่นยากาจัดยุง ก่อนจะมีการระบาดเพิ่มขึ้น


     วิธีดูแลตัวเองสาหรับผู้ป่วย “ โรคไข้เลือดออก ”
- หากพบไข้ขึ้นสูง และปวดศรีษะ ควรใช้ยาลดใช้เฉพาะ”พาราเซตามอล”เท่านั้น ห้าม! ยาแอสไพริน เพราะอาจจะทาให้เลือดออกง่าย
- ผู้ป่วยควรดื่มน้าเกลือแร่ เพื่ชดเชยน้าและเกลือที่สูญเสียไปจากร่างกาย ในกรณีที่มีอาการอาเจียน ควรดื่มครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- ควรติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
- สาหรับอาหารของผู้ป่วย ที่พ้นขีดอันตราย อาการดีขึ้นแล้ว ให้เริ่มจากอาหารอ่อน “ควรเว้นอาหารที่มีสีดำ หรือแดง ” 
- เนื่องจากหากมีการอาเจียนซ้ำ จะทำให้ยากต่อการวินิจฉัยโรค ว่าสิ่งที่อาเจียนออกมาเป็นเลือด หรืออาหารที่รับประทานเข้าไป

     อัตราการระบาดของ “โรคไข้เลือดออก” ที่พบมากที่สุด คือ ช่วงหน้าฝน โรคนี้จะมีการแพร่กระจายมากขึ้นถึง 3 เท่าจากช่วงอากาศปกติ


   สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ แพคเกจวัคซีนไข้เลือดออก ได้ที่ โทร. 02-109-1111 ต่อ  แผนกอายุกรรม
หรือ แผนกเภสัชกรรม 

## เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้ที่  ##

LINE : http://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital

Facebook :     http://www.facebook.com/bangpakok1hospital/




Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.