อายุน้อยแต่ ปวดข้อบ่อยต้องระวัง
เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนคิดว่า “โรคกระดูกเสื่อม” ส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มของผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคกระดูกเสื่อม สามารถเกิดได้กับคนในทุกเพศและทุกวัย ไม่เว้นแม้จะเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาววัยทำงานก็ตาม
โรคกระดูกเสื่อมเกิดจากอะไร
สำหรับภาวะกระดูกเสื่อมในปัจจุบัน หลักๆ เลยคือเรื่องของอวัยวะที่ใช้สำหรับรับน้ำหนัก เช่นในส่วนของกระดูกสันหลัง กระดูกข้อต่างๆ ทั้งข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อสันหลัง เป็นต้น
ปัจจุบันผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษาโรคกระดูกเสื่อมส่วนใหญ่ 2 ส่วน
- ในส่วนของกระดูกสันหลัง กระดูกคอเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเสื่อม
- กลุ่มของกระดูกข้อเข่าเสื่อม
โครงสร้างของกระดูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีของกระดูกสันหลังก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูก รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงพวกเยื่อหุ้มข้อต่างๆ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม และการเคลื่อนตัวของกระดูก ไปกดทับเส้นประสาท ทำเกิดปัญหาการปวดร้าวต่างๆ ในส่วนของข้อกระดูกสันหลังก็เช่นกัน ถ้าเสื่อมมาก ก็จะเกิดการเคลื่อนตัวของกระดูกซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปวด และอักเสบ แล้วส่งผลให้กระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทเช่นกันทั้งในส่วนคอและส่วนหลัง ส่วนในกรณีส่วนข้อเข่าเสื่อม ข้อเท้าเสื่อมก็จะเกิดการยุบตัวของกระดูกอ่อน แล้วทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ที่อยู่บริเวณข้อต่างๆ เกิดการเสื่อมสภาพ ความแข็งแรงน้อยลง เกิดการหลวมและเสียดสีมากยิ่งขึ้น
สัญญาณเตือนของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
จะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยง่าย รวมถึงลักษณะของโครงสร้างของหลังเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มมีอาการของโรคนี้แล้ว เพราะสาเหตุของอาการปวดตึงง่ายนี้ แรกๆ ปวดๆ หายๆ หลังๆ จะปวดไม่ค่อยหาย ประกอบกับถ้ามีการใช้งานอวัยวะที่มีการเสื่อมนั้นมากขึ้น อย่างเช่นใช้คอ หรือหลังมากขึ้น ก็จะยิ่งมีอาการให้เห็นชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อกระดูกเสื่อมแล้วก็เกิดการหลวมตัว กล้ามเนื้อต่างๆ ก็จะทำงานเยอะขึ้น เพื่อพยุงให้อวัยวะนั้นๆ ตั้งตรงขึ้นและใช้งานได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดตามมา หากเราไม่สนใจไม่มีการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง ยังใช้งานเยอะ ก็จะมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนที่มีอายุน้อยเป็นโรคกระดูกเสื่อมมากขึ้น
เนื่องจากคนทำงานยุคปัจจุบัน มักจะนั่งทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ หรือการใช้งานผิดท่านานๆ รวมทั้งการก้มดูมือถือ นั่งเล่นเกมส์ เล่นแชทนานๆ ก็ล้วนทำให้โครงสร้างหรือหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น เพราะว่าตัวหมอนรองกระดูก เส้นเอ็นต่างๆ
การเล่นกีฬาก็ส่งผลให้เกิดอาการกระดูกเสื่อมได้
เป็นต้นตอของภาวะกระดูกเสื่อมมากกว่า คือเมื่อเราเกิดการบาดเจ็บของส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายขึ้น แล้วไม่ได้รับการฟื้นฟู มีการปล่อยทิ้งเอาไว้ ในขณะที่เล่นกีฬาซ้ำอีก ก็อาจเกิดปัญหาสะสมไปที่หมอนรองกระดูก รวมทั้งเกิดการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นที่ยึดข้อแต่ละข้อ เมื่อไม่ได้รับการฟื้นฟูแล้วก็เกิดการบาดเจ็บซ้ำๆ จะทำให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อมได้เร็ว
นอกจากนักกีฬาแล้วในบางอาชีพ ที่ต้องทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ เช่นนักคอมพิวเตอร์ อาชีพช่างที่ต้องก้มๆ เงยๆตลอดเวลา ก็มักจะเกิดภาวะกระดูกคอเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วไป
วิธีป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
วิธีป้องกันไม่ยาก อันดับแรกต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการของโรคกระดูกเสื่อมหรือไม่ รวมทั้งต้องคอยสังเกตดูว่าท่าทางการใช้งานในชีวิตประจำวัน มีท่าทางไหนที่ก่อให้เกิดปัญหากับกระดูก เช่นการก้ม การนั่งนานๆ เหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงการใช้งาน เพื่อให้อยู่ในท่านั่งที่ถูกต้อง จะช่วยลดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง รวมทั้งช่วยลดการบาดเจ็บของข้อต่อต่างๆ
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีอะไรที่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscopic Spinal Surgery มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้น ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังร่วมด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมาก ทำให้มีวิธีการรักษาต่างๆ ที่พร้อมช่วยรักษาคนไข้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเสมอไป อาทิ การทำกายภาพฟื้นฟู การรักษาอาการปวดหลังด้วยการฉีดสลายพังผืด หรือแม้กระทั้งการผ่าตัดสมัยนี้ก็เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กน้อยกว่า 1 ซม. ที่ไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เวลามีอาการปวดหลังมักจะปล่อยให้ปวดมาก ปวดเรื้อรังจนบานปลาย จึงก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา
ซึ่งทางโรงพยาบาลบางปะกอก 1 มีเทคโนโลยีมากมาย หนึ่งในนั้นคือการผ่าตัดส่องกล้องที่กระดูกสันหลัง หลังจากที่ทำการผ่าตัดแล้ว จะมีแผลเล็กน้อยกว่า 1 ซม.ส่งผลให้ทำการรักษาเฉพาะที่ได้ และในกรณีที่คนไข้มีอาการของหมอนรองกระดูกยื่นออกมา การผ่าตัดส่องกล้องนี้จะสามารถขยายโพรงกระดูกออกไปได้ ทำให้คนไข้สบายขึ้น โดยที่ไม่ต้องบาดเจ็บ ไม่ต้องเสียเลือด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา
โทร. 0-2109-1111 , 0-2109-2222