Bangpakok Hospital

ตื่นเช้าไม่สดใส ภาวะเสี่ยงต่อมหมวกไตล้า

23 ม.ค. 2567


     การตื่นนอนในทุก ๆ เช้า ต่อมหมวกไต จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น มีแรงพร้อมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน แต่หากเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเริ่มรู้สึกว่า การตื่นมาเช้านี้ไม่สดใสเหมือนเดิม ไม่อยากทำงาน ไม่อยากทำในสิ่งที่ชอบ นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเราอาจจะมีภาวะต่อมหมวกไตล้า  ปกติแล้วต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา เพื่อเผชิญกับความเครียดต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางจิตใจหรือความเครียดทางร่างกาย แต่เมื่อใดก็ตามที่เรามีความเครียดมากเกินไปหรือสะสมเป็นระยะเวลานาน จนต่อมหมวกไม่สามารถผลิตฮอร์โมนต้านความเครียดออกมาได้ทัน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้

สาเหตุของภาวะต่อมหมวกไตล้า

  • มีความเครียดทางจิตใจสะสมหรือคิดมาก กังวลใจตลอดเวลา
  • นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย นอนหลับไม่ลึก
  • การฝืนใช้ร่างกาย ไม่พักผ่อน รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม

อาการของผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า

  • ตอนเช้าไม่อยากตื่น ตอนกลางคืนไม่ง่วง
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อยากนอนตอนกลางวัน
  • ชอบรับประทานของหวาน ของมัน ของเค็ม
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • น้ำหนักขึ้นง่าย
  • ติดกาแฟ
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสียบ่อย
  • เครียด ซึมเศร้า
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
  • ในผู้หญิงอาจจะมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี ป่วยบ่อย เป็นภูมิแพ้ ผื่นเรื้อรัง สิวเรื้อรัง

เมื่อมีภาวะต่อมหมวกไตล้า ควรทำอย่างไร

  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวันและพยายามนอนก่อน 4 ทุ่ม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก 2 ชั่วโมงก่อนนอน
  • หาวิธีคลายความเครียด เช่น งานอดิเรก ท่องเที่ยว โยคะ สปา ทำกิจกรรมนอกบ้าน เป็นต้น
  • รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ และควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหวานปริมาณมาก ๆ หรือของมันมากก่อนนอน
  • รับประทานอาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิด สามารถช่วยลดอาการต่อหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwagandha (โสมอินเดีย), L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว), Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง), วิตามินบีรวม เป็นต้น

 

สอบถามข้อมูลได้ที่ BPK Wellness

โทร. 0-2109-2222 ต่อ 20200

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.