ปวดคอบ่อยไม่ใช่เรื่องดี จุดเริ่มต้นกระดูกคอเสื่อม
อาการปวดคอที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ส่วนใหญ่มักบรรเทาอาการปวดคอด้วยการนวด หรือหมุนคอไปมาเพื่อผ่อนคลาย แต่หากอาการปวดคออยู่ในระดับที่รุนแรงมาก รู้สึกปวดร้าวไปบริเวณแขน นิ้วมือ อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณต้นคอเสื่อมเคลื่อนไปทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นอาการปวดคอที่เป็นอันตราย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอ
- กระดูกต้นคอเสื่อม เป็นผลจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานคอหนักในบางสาขาอาชีพ
กล้ามเนื้อรอบข้อต่อมีการอักเสบจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ หรือ เกิดการติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง
- การมีประวัติบาดเจ็บที่บริเวณคอ เช่น เอ็น กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆคอ เคยมีประวัติอุบัติเหตุที่คอมาก่อนอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรังในภายหลังได้, หมอนรองกระดูกแตกหรือเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
- การใช้งานคอหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ผิดสุขลักษณะ เช่น นอนศีรษะผิดท่า, กิจกรรมในการทำงานที่ต้องก้มๆเงยๆบ่อยๆ หรือหันศีรษะโดยกล้ามเนื้อคอ เป็นต้น ส่วนใหญ่มักจะมีอาการมีอาการปวดตื้อที่ศีรษะบริเวณท้ายทอยร่วมด้วย
อาการปวดคอที่ควรไปพบแพทย์
- อาการปวด เป็นๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- ชาและเสียวบริเวณต้นคอ คอเกร็งจนหันไม่ได้
- มีอาการปวดทั่วแผ่นหลัง หรือปวดมากขึ้นบริเวณเอว หลังช่วงล่างยาวไปจนถึงขา
- อาการปวดไปรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นอุปสรรคในการทำงาน เช่น ปวดคอเวลา นั่ง นอน หรือขยับท่าทางต่างๆ
- เมื่อมีอาการปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ โดยมีอาการปวดคล้ายไฟฟ้าช็อต ปวดร้าวไปที่แขนหรือนิ้วมือ บางรายอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงของมือ แขน
วิธีการป้องกันอาการปวดคอ
- ควรหลีกเลี่ยงการแบกของหนักไว้บนหลังและไหล่ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม และส่งผลให้เกิดอาการปวดคอได้
- หมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอ โดยการหมุนคอไปมา แต่ไม่ควรเคลื่อนไหวแรงๆ และเร็วเกิน
- ควรหลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมนานๆ หากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรจัดท่านั่งให้เหมาะสม โดยให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา
- การนอน ควรเลือกความสูงของหมอนที่พอดี ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป และควรจัดท่านอนให้คออยู่ระดับเดียวกับศีรษะจะช่วยป้องกันอาการคอเคล็ดและการตกหมอนได้
วิธีการรักษาอาการปวดคอ
- การรักษาด้วยยา คือ แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการปวดตามความรุนแรงของอาการ และบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ หรือ ยาชาเข้าไปตรงตำแหน่งใกล้รากประสาท ซึ่งอยู่ตรงกับกระดูกสันหลัง หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อคอเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และให้อาการปวดคอหายไวขึ้น
- การทำกายภาพบำบัด คือ ช่วยทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังบริเวณคอกว้างขึ้น ลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงการนวดที่ถูกวิธีก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้
- การผ่าตัด คือ ในบางกรณีแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการรากประสาทหรือไขสันหลังถูกกดทับโดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้ในกรณีที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจได้ที่แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โทร. 0-2109-1111 ต่อ 10145,10122