Bangpakok Hospital

ปวดหลังรักษาไม่หาย จุดเริ่มต้นหมอนรองกระดูกเสื่อม

6 ธ.ค. 2566


ปวดหลังร้าวลงไปถึงเอว ร้าวลงไปขาอาการเหล่านี้ไม่ใช่แค่การปวดเมื่อยเพียงเพราะนั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก แต่ “กระดูกสันหลัง” ของคุณอาจกำลังเผชิญกับความผิดปกติ และ “การผ่าตัด” คือแนวทางการรักษาที่นับว่าให้ผลลัพธ์ดีที่สุด

โรคที่ควรได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
1. โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

     เมื่อหมอนรองกระดูกโป่งนูนหรือแตกออกมากดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวและส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทต่างๆ
2. กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

     เมื่ออวัยวะที่มีหน้าที่ช่วยพยุงข้อกระดูกสันหลังเกิดอาการเสื่อม กระดูกสันหลังจึงมีการเคลื่อนตัวออกจากกัน และไปกดทับที่เส้นประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหลัง ขาอ่อนแรง
3. เนื้องอกที่ไขสันหลัง อื่นๆ

     เช่น การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง ความผิดปกติของเส้นเลือดในเส้นประสาทไขสันหลัง

 

การผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง
1. การผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscope)

     วิธีนี้ศัลยแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อขยายภาพ ทำให้สามารถมองเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี ทำให้ได้รับผลการรักษาที่ดี ช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงการฟื้นตัวของผู้ป่วยจึงเร็วขึ้น เพราะการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อมีน้อย อาการเจ็บปวดแผลหลังผ่าตัดลดลง
2. การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)

     การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เพราะเป็นการใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กสอดเข้าไปในแผล การผ่าตัดด้วยกล้องเอนโดสโคปนั้น ต้องอาศัยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยผ่าตัด

     การรักษาที่ดีที่สุด คือทำให้คนไข้หายโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือผ่าตัดแล้วเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ปลอดภัยสูง แผลมีขนาดเล็ก มีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องมือและทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

 

สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจได้ที่แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โทร. 0-2109-1111 ต่อ 10145 , 10122

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.