Bangpakok Hospital

รู้หรือไม่ ? “โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องรอแก่ก็เป็นได้

19 ก.ค. 2562

   รู้หรือไม่ ? โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องรอแก่ก็เป็นได้ หลายคนเข้าใจว่า จะเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นภัยเงียบที่แอบแผงอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ระมัดระวัง และไม่ดูแล คุณก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เพื่อสุขภาพข้อเข่าที่ดู ลองอ่านข้อมูลที่แอดนำมาฝากกันดูนะคะ

 ต้นเหตุ “เข่าเสื่อม”  

     ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวข้อตามกาลเวลา เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงภายในข้อ และร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการที่ถูกทำลายไป  เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอ ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆที่จำเป็นไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ทำให้มีอาการเจ็บปวดในการใช้ชีวิตประจำวัด โดยไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะสาเหตุของการเสื่อมของข้อเข่ามีหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1.อายุ มักไปเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้น และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 40% 2.เพศ เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า

3.น้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากเกินไป น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มแรงกระทำกับข้อเข่ามากขึ้นด้วย รวมทั้งเซลล์ไขมันที่มีมากเกินไปจะส่งผลทำให้เซลล์กระดูกอ่อน และเซลล์กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น

4.การใช้งานเข่า การทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามากยิ่งเพิ่มความเสี่ยง เช่น การวิ่งมาราธอน การเดินขึ้น-ลงบันได  

  1. อุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ บริเวณข้อ หรือเส้นเอ็น หรือการบาดเจ็บเรื้อรังจากการออกกำลังกาย
  2. โรคประจำตัวที่มีผลกับข้อเข่า เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์ 

 เช็คอาการ “ข้อเข่าเสื่อม”

       คุณอาจกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากมีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อ

  1. ปวดเข่า บริเวณข้อ ปวดเรื้อรัง ปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน และทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน
  2. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อขยับเคลื่อนไหว
  3. ข้อเข่าตึง ฝืด เมื่อพักการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน
  4. ปวดเสียวที่ข้อเข่าเมื่อขึ้น-ลงบันได
  5. เข่าเปลี่ยนรูป เกิดจากการเสื่อมของเข่า และเกิดกระดูกงอก ทำให้เข่าเปลี่ยนรูป

      หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ เพื่อการรักษาข้อเข่าให้อยู่กับเราได้อีกนาน หากมีอาการควรรีบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

       “โรคข้อเข่าเสือม” ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาแบบควบคุมอาการปวดได้ และทำให้ข้อเข่าสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ หรือเหมือนเดิมให้มากที่สุด และป้องกันการผิดรูปของข้อเข่าอีกด้วย ทั้งนี้การรักษานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน

โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

1.รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด 

  • ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อ
  • ใช้เครื่องช่วยเดิน เพื่อผ่อนการลงน้ำหนัก ลดแรงกระทำต่อข้อ เช่น ไม้ค้ำ ไม้เท้า
  • การประคบร้อนเมื่อมีอาการปวดในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และประคบเย็นช่วง 48 ชั่วโมงหลังมีอาการปวด การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิว การเลเซอร์ หรือฝังเข็ม 
  • การใช้ยากลุ่มต่างๆ ที่รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างเช่น พาราเซตามอล บรรเทาอาการปวดในเบื้องต้น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยลดอาการปวด และช่วยการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

2.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

           เป็นการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ในกรณีข้อเสื่อมอย่างรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือมีอาการผิดรูปของข้อมาก เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมาก

รายละเอียดเพิ่ม   https://bit.ly/2N8D6Zl

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
LINE @ : goo.gl/75s9DL
Facebook : goo.gl/h6T9Qd

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.