Bangpakok Hospital

“โรคนิ้วล็อค” 1 ในโรคฮิต ออฟฟิศซินโดรม

12 ก.พ. 2561

           “โรคนิ้วล็อค” เป็นโรคที่คนในยุคปัจจุบันมีความเสียงที่จะเป็นสูงมาก ผู้ป่วยมักมีอาการนิ้วมือ และนิ้วมือล็อค ไม่สามารถเหยียดตรงได้ง่าย เนื่องจากการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อนิ้ว เป็นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมาจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนัก เช่น

  1. ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบสัมผัส ถึงแม้ว่าการการสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือทุกนิ้ว แต่อาการเกร็งจะเกิดขึ้นกับนิ้วที่ใช้ เช่น นิ้วชี้ นิ้วโป้ง จนทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว และมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว
  2. แม่บ้านผู้ใช้งานมืออย่างหนัก ในการหิ้วของหนัก ซักผ้า หรือการทำงานบ้านอื่นๆ ทำให้นิ้วมือต้องเกร็งอย่างหนัก
  3. ผู้ชายที่ทำอาชีพที่ต้องใช้กำลังจากนิ้วมือ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสาว พนักงานโรงงาน ช่างซ่อมที่ต้องใช้ไขควง ช่าง นักกีฬากอล์ฟ     นักกีฬายูโด
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื้อที่มือ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน รวมไปถึืงโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อคได้เช่นกัน       

        ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีกลุ่มเสี่ยงชัดเจน แต่ผู้ป่วยที่พบมากจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีอายุประมาณ 40-60 ปี   

  4 ระยะของอาการ “โรคนิ้วล็อค”

               คนส่วนใหญ่มักมีอาการที่นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง สาเหตุมาจากผังผืดยืดหุ้มบริเวณข้อนิ้ว เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดมาก นิ้วมือไม่สามารถงอได้ ทำให้หยิบจับอะไรไม่ถนัด และจะมีอาการปวดตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

                ระยะที่ 1 มีอาการปวด โดยเริ่มปวดบริเวณโคนนิ้วและมีปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมือลองกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่จะยังไม่มีอาการสะดุด

                ระยะที่ 2 มีอาการสะดุด เมื่อขยับนิ้ว งอ หรือเหยียดตรง จะมีอาการสะดุดจนรู้สึกได้ รวมไปถึงอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น

                ระยะที่ 3 มีอาการล็อค นิ้วมือล็อคไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างแกะออก

                ระยะที่ 4 มีอาการบวมอักเสบ นิ้วมือบวมอยู่ในท่างอที่ไม่สามารถเหยียดตรงได้ และมีอาการปวดมากเมื่อพยายามใช้มืออีกข้างช่วยในการเหยียดตรง    

                  เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา อย่าปล่อยให้นิ้วมือของคุณมีอาการถึงระยะที่ 4

  “โรคนิ้วล็อค” รักษาได้

            ผู้ป่วย “โรคนิ้วล็อค” บางรายอาจสามารถมีอาการที่ดึขึ้นได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากปล่อยให้อาการรุนแรง จะได้รับการรักษาจากแพทย์หลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น

    1. รักษาด้วยการบำบัด

  • พักผ่อน พักมือจากการออกแรง หรือแบกน้ำหนักมาก ซ้ำกันเป็นเวลานาน โดยเว้นกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์
  • ประคบร้อนหรือเย็น การได้แช่น้ำอุ่นในช่วงเช้าจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือประคบเย็นที่ฝ่ามือก็ช่วยได้เช่นกัน
  • อุปกรณ์ดามนิ้ว อุปกรณ์จะช่วยพยุงนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดจนเกินไป และช่วยให้นิ้วได้พักอีกด้วย
  • ยืดเส้น การออกกำลังกายเบาๆ อาจช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้ปกติขึ้น

    2. รักษาด้วยยา  ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาชนิดนี้ไม่สามารถบรรเทาอาการบวมได้
     3. กระบวนการทางการแพทย์อื่นๆ เมื่อการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล อาจจะต้องรับการรักษาดังนี้

  • ฉีดสเตียรอยด์ โดยฉีดเข้าเส้นเอ็นบริเวณนิ้ว
  • ผ่าตัด โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันอาการก็ดีขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดพังผืดและกลับมาเป็นอีกได้

  ปฏิบัติอย่างไร ห่างไกล “โรคนิ้วล็อค”

      1. หลีกเลี่ยงการหิ้ว หรือยกของหนัก เพื่อถนอมนิ้วมือ

      2. พักมือ เมื่อใช้งานโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสเป็นเวลานาน ควรพักเป็นระยะ เช่นใช้งาน 45 นาที และพัก 10 นาที

      3. ควรใช้เครื่องทุนแรง หากจำเป็นต้องทำงานที่ใช้มือ กำ หยิบ  บีบ หรือยก

   

  
  
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   02-109-1111 ต่อ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ  โรงพยาบาลบาลปะกอก 1  

 

Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.