ปวดหลังส่วนไหน เกิดจากอะไร

อาการปวดหลัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลังที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งเมื่ออาการลุกลามก็จะแสดง “อาการปวดหลัง” ที่มากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิด “อาการปวดหลัง” มีอะไรบ้าง?
- ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกต้องตามสรีระ
- การยกของหนัก ถือของหนัก ก้มยกของผิดวิธี
- การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินทำให้หมอนรองกระดูกได้รับออกซิเจนน้อยลง จึงเสื่อมและยุบตัวเร็วกว่าปกติ
- ภาวะกระดูกพรุนหรือบางเปราะ
- ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลังและก้นกบต้องรับภาระแบบน้ำหนักมากขึ้นกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ
- ออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานนานๆ หรืออยู่ในท่าทางการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
กิจกรรมในชีวิตประจำวันทำปวดหลัง
- หลังส่วนบน – นั่งทำงานผิดท่า ก้มมองจอนาน หรือแบกของหนักเกินไป
- หลังส่วนกลาง – การออกกำลังกาย เล่นกีฬา การขยับร่างกายผิดท่า
- หลังส่วนล่าง – การยกของหนัก การออกกำลังกาย นั่ง, ยืนนาน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป
ปวดหลังระดับไหน? ควรรีบไปพบแพทย์
ไม่ควรชะล่าใจ ปล่อยให้ความเจ็บปวดอยู่กับเรานาน จำเป็นต้องสังเกตตัวเราเองว่ามีความเจ็บอยู่ในระดับใด โดยระดับความเจ็บปวดจากอาการปวดหลังนั้น เริ่มตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปถึงขั้นรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการปวดร้าวลงขา ปวดคล้ายเข็มทิ่ม หรือปวดแบบเสียวแปลบ
หากมีอาการปวดนานเรื้อรัง มีอ่อนแรงหรือชา มีไข้ ปวดกลางคืนนอนพักไม่หาย มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติร่วม ควรรีบปรึกษาแพทย์ อาจมีการสั่งตรวจเพิ่มเพื่อหาสาเหตุและอาการของโรคอย่างแน่ชัด เช่น การตรวจเอกซเรย์ (X-ray) การสร้างภาพกระดูกสันหลังด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา
โทร. 0-2109-1111 , 0-2109-2222