Bangpakok Hospital

กระดูกคอเสื่อม เช็คด้วยตัวเองง่ายๆ

3 มี.ค. 2568


โรคกระดูกคอเสื่อม
หลายคนมักคิดว่าเป็นเรื่องของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงอายุ แต่แท้จริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย และส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในท่าที่ไม่ถูกต้องติดต่อกันนานๆ เป็นประจำ ที่เร่งให้กระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งอาการปวดคอ บ่าไหล่ ปวดกล้ามเนื้อคอหรือเอ็นรอบคอมักหายเองได้ แต่หากใครเป็นบ่อย เป็นนาน ควรตรวจให้แน่ชัดว่าเกิดจากกระดูกคอเสื่อมหรือไม่ เพราะยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งเกิดอันตรายได้
สำรวจตัวเองง่ายๆ เป็นกระดูกคอเสื่อมหรือไม่
  1. ให้นั่งตัวตรง หลังตรง แล้วเงยคอ และเอียงคอไปด้านตรงข้าม หากมีอาการปวด และปวดร้าวลงมาที่ไหล่ แขน หรือมือ อาจมีปัญหากระดูกคอเสื่อม
  2. ค่อยๆ ก้มหน้าลงให้คางจรดหน้าอก และเงยหน้าขึ้นมองเพดาน ถ้ารู้สึกชา หรือเหมือนไฟช็อตลงแขนหรือขาได้
  3. การจาม หากกระดูกคอเสื่อม เวลาจามจะมีแรงกระแทกไปที่ช่องคอ แล้วไปรบกวนตัวหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาทำให้กดทับเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการเจ็บ ร้าว ชา ปวด หรือเจ็บแปล๊บเหมือนไฟฟ้าช็อตได้
กระดูกคอเสื่อมระดับไหนอันตราย
  • ระดับ 1 กระดูกคอเสื่อมที่จะมีอาการปวดต้นคอ บ่าและไหล่
  • ระดับ 2 มีการกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทถูกกด อาการนี้มักจะเป็นๆ หายๆ แบบเรื้อรัง ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขนท่อนล่าง จนถึงปลายนิ้ว
  • ระดับ 3 มีการกดทับไขสันหลัง จะมีอาการปวดเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขา ปวดหลังคอร้าวไปด้านหลังของไหล่ และอาจปวดร้าวไปถึงด้านหลังของแขนท่อนล่าง จนถึงนิ้วกลาง ก้าวขาได้สั้นลง การทรงและการใช้งานมือลำบาก
การรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม
   หากพบว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม และตรวจพบได้เร็ว มีอาการไม่มาก แพทย์สามารถให้การรักษาทางยาและการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย แต่ถ้ามีอาการปวด ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น มีภาวะอ่อนแรงที่รุนแรง มีการกดเส้นประสาทรุนแรงและนาน แพทย์จะพิจารณา
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา
โทร. 0-2109-1111 , 0-2109-2222
Go to top
Copyright © 2015 Bangpakok Hospital All rights reserved.